รายการบล็อกของฉัน

วันเสาร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2560

การพัฒนาระบบฐานข้อมูลเพื่อการจัดเก็บวัสดุคงคลังหน่วยงานวิศวกรรมซ่อมบำรุง กรณีศึกษาโรงงานผลิตตัดเหล็กม้วน

ผู้แต่ง : สุรเชษฐ์ มหามนต์ และ อรรถกร เก่งพล
เอกสาร
1.    ความเป็นมา/หลักการและเหตุผล
โรงงานอุตสาหกรรมผลิตเหล็กม้วนและปั้มขึ้นรูปโลหะ มีการปรับแผนผังของโรงงานใหม่และได้ย้าย store กลางไปอยู่ที่โรงงาน D ทำให้การเบิกจ่ายอะไรในการซ่อมบำรุงล่าช้า เนื่องจากไกลจากโรงงานฝ่ายผลิต จึงจำเป็นต้องแยก store สำหรับสแปร์พาร์ท และมีพนักงานใหม่เข้ามาทำหน้าที่เจ้าหน้าที่สโตร์ ทำให้การปฏิบัติงานล่าช้าเนื่องจากไม่รู้จักอุปกรณ์ต่างๆ ดังนั้นจึงทำให้เกิดการสูญเสียเวลาในการเบิกจ่ายวัสดุปกรณ์สแปร์พาร์ทที่จำเป็นทำให้เกิดเวลาในการเบรคดาวน์ของเครื่องจักรเพิ่มมากขึ้นทำให้ค่าเฉลี่ยเกิน KPIs
2.    วัตถุประสงค์
2.1.  เพื่อพัฒนาระบบการจัดการฐานข้อมูลในหน่วยงานวิศวกรรมซ่อมบำรุงโดยการปรับปรุงวิธีการเก็บข้อมูลอะไหล่คงคลัง
2.2.  เพื่อให้พนักงานสามารถปฏิบัติงานและค้นหาข้อมูลอะไรเครื่องจักรได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
2.3.  เพื่อลดเวลาในการซ่อมเครื่องจักรแต่ละครั้ง
3.    ขอบเขตของการศึกษา
จัดการฐานข้อมูลอะไหล่คงคลังในหน่วยงานวิศวกรรมซ่อมบำรุงและกรณีศึกษาโรงงานผลิตตัดเหล็กม้วน
4.    ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
4.1.   แนวคิดนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการมาประยุกต์ใช้โดยการออกแบบฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรมภาษา จาวาในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาส่วนควบคุมอะไหล่คงคลัง
4.2.   การพัฒนาระบบพัสดุคงคลังสําหรับอะไหล่ซ่อมบํารุง : กรณีศึกษาโรงงานผลิตปูนซีเมนต์ระบบพัสดุคงคลัง โดยใช้เทคนิค ABC
4.3.   การจัดหมวดหมู่และเพิ่มความสะดวกให้กับพนักงานในการบันทึกข้อมูล โดยระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ไมโครซอฟต์แอคเซ็ส 2007
4.4.   ระบบฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการบันทึกข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Microsoft VisualStudio.NET  ซึ่งทำงานบนฐานข้อมูล Web Application, SQLServer
5.    วิธีการ/ขั้นตอนการวิจัย
ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาระบบงานในปัจจุบัน จากนั้นศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาความล่าช้าในการค้นหาอะไหล่ และออกแบบระบบฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Microsoft Access
6.    ผลการวิจัย
การใช้ระบบสาระสนเทศเพื่อการจัดการมาประยุกต์ใช้งานโดยมีเป้าหมายลดเวลาในการค้นหาอะไหล่ให้เร็วขึ้นกว่าเดิม โดยสามารถลดระยะเวลาได้ 95.69% หรือเท่ากับ 31.99 นาทีและยังสามารถลดความผิด รหัสการเบิกอะไหล่ วัสดุคงคลังในการซ่อมบำรุงในแต่ละครั้งลงได้ 100%
7.    ข้อจำกัดของงานวิจัย/ข้อเสนอแนะ
7.1.   ผู้ที่สามารถทำการแก้ไขข้อมูลหรือการตั้งค่าของโปรแกรมจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐานด้านโปรแกรม
ควรมีการพัฒนาโปรแกรมให้สามารถใช้งานได้พร้อมกันหลายเครื่องในเวลาเดียวกันโดยผ่านช่องทางระบบอินทราเน็ตขององค์กรเพื่อให้ใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น

credit : สุรเชษฐ์ มหามนต์ และ อรรถกร เก่งพล, การลดเวลาในการตรวจสอบสายเคเบิลอินฟินิแบนด์ : กรณีศึกษาแผนกตรวจสอบโรงงานผลิตสายเคเบิล, กรุงเทพมหานคร: วิทยานิพนธ์ตามหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ,2548.


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น